วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บัทึรั้ที่ 6

วั จัร์ ที่ 15  กุพัธ์  2559

า   08.30 - 10.30 .


----------ไม่มีการเรียนการสอน------------


วัหัดี  ที่  18 กุพัธ์  2558

  08.30-11.30 .


เนื้อหาที่ได้เรียน / ความรู้ที่ได้รับ
         วันนี้เริ่มกิจกรรมการเรียนการสอนโดยอาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมาแสดงกิจกรรมเคลื่อนไหนโดยมีแทมมารีนเป็นตัวกำหนดจังหวะ





     ต่อมาอาจารย์ให้นักศึกษาเคลื่อนไหวตามจังหวะดดยมีกระดิ่งเป็นตัวกำหนดจังหวะ  พร้อมแบ่งกลุ่มให้คิดท่าทางประกอบจังหวะ  ว่าแต่ละกลุ่มจะมีการคิดท่าทางประกอบอย่างไร





ประเมินตนเอง
      ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือกับเพื่อนและชาวยเพื่อนๆคิดท่าทางประกอบจังหวะ
ประเมินเพื่อน
     เพื่อนๆตั้งใจเรียนและดูมรความสุขไปกับการเรียน ไม่เครียด  มีแต่เสียงวหัวเราะ
ประเมินอาจารย์
     อาจารย์ใจดี  น่ารัก เป็นกันเองกับนักศึกษา  ใส่ใจและดูแลนักศึกษาได้อย่างทั่วถึง



 
 

บัทึรั้ที่ 5

วั จัร์ ที่ 8  กุพัธ์  2559

า   08.30 - 10.30 .

เนื้อหาที่ได้เรียน

        กิจกรรมการเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์บรรยายให้หัวข้อ  "สมรรถนะทั้ง 7 ด้านของเด็กปฐมวัย"  โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้
        สมรรถนะ (Competency) F คือพฤติกรรมบ่งชี้ของแต่ละวัย (ช่วงอายุ) ว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง (Can do)
ตัวอย่าง : การเคลื่อนไหวและการทรงตัว
  3 ปี – วิ่งและหยุดเองได้
  4 ปี – เดินต่อเท้าไปข้างหน้าโดยไม่กางแขน
  5 ปี – เดินต่อเท้าไปข้างหลังโดยไม่กางแขน
ตัวอย่าง : การมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนเด็ก
  3 ปี – พูดคุยและเล่นกับเพื่อนเด็กด้วยกัน
  4 ปี – ช่วยเหลือเพื่อน
  5 ปี – ชวนเพื่อนมาเล่นด้วยกันโดยกำหนดสถานที่
ตัวอย่าง : ความทรงจำ
  3 ปี – ท่องคำคล้องจองสั้น ๆ ได้
  4 ปี – บอกชื่อวันในหนึ่งสัปดาห์
  5 ปี – บอกหมายเลขโทรศัพท์ที่บ้านได้
ตัวอย่าง : การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
  3 ปี – แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้ โดยการลองผิดลองถูก เช่น สวมรองเท้า ติดกระดุม
  4 ปี – แก้ปัญหาโดยใช้อุปกรณ์ช่วย เช่น ใช้ไม้เขี่ยสิ่งของที่เอื้อมไม่ถึง
  5 ปี – แก้ปัญหาได้หลายวิธี และรู้จักเลือกวิธีที่เหมาะสม

ความสำคัญ
-  ทำให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็กและครูปฐมวัยมีความรู้ ความเข้าใจ เด็กปฐมวัยมากขึ้น
-  สร้างความตระหนักในความสำคัญของการพัฒนาเด็กในช่วงปฐมวัยมากขึ้น
-  ชี้แนะแนวทางในการพัฒนาเด็กเป็นเสมือน “คู่มือช่วยแนะแนว”
-  ส่งเสริมวิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยให้ได้คุณภาพดียิ่งขึ้น
-  ทำให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยมีเป้าหมายร่วมกันและประสานประโยชน์เพื่อเด็กได้ดียิ่งขึ้น


ข้อตกลงเบื้องต้น
     เด็กปฐมวัยทุกคนมีความแตกต่างระหว่างบุคคล  พ่อแม่  ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก  ครูอาจารย์ 
ควรศึกษาพฤติกรรมบ่งชี้(สมรรถนะ)  ด้วยความเข้าใจ  และไม่ควรถือว่าพฤติกรรมบ่งชี้เหล่านี้เป็นแบบ
ประเมินเสมือนลักษณะสอบตกสอบได้เด็ดขาด  ถ้าพบว่าเด็กบางคนมีพัฒนาการล่าช้าจากช่วงอายุก็
ควรปรึกษาแพทย์ต่อไป
ข้อคิดจากงานวิจัยสมรรถนะเด็กไทย (สกศ.)
สมรรถนะ (Competency)   7 ด้าน 419 ตัวบ่งชี้
       คือ พฤติกรรมบ่งชี้ของเด็กแต่ละวัย (ช่วงอายุ) ว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง (Can do)
 * ข้อมูลนำไปใช้ในการสร้างเสริมการพัฒนาเด็กปฐมวัย ไม่ได้ให้ใช้เพื่อการตัดสินได้หรือตก
สมรรถนะ 7 ด้าน ประกอบด้วย
      (1) การเคลื่อนไหวและสุขภาพทางกาย 
      (2) พัฒนาการด้านสังคม
      (3) พัฒนาการด้านอารมณ์ 
      (4) พัฒนาการด้านการคิดและสติปัญญา
      (5) พัฒนาการด้านภาษา 
      (6) พัฒนาการด้านจริยธรรม
      (7) พัฒนาการด้านการสร้างสรรค์
ด้านที่ 1  การเคลื่อนไหวและสุขภาพทางกาย
      1.1 การเคลื่อนไหว
             1) การเคลื่อนไหวและการทรงตัวโดยใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่
     2) การเคลื่อนไหวโดยใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก
     3) ประสาทสัมผัสการเคลื่อนไหว
1.2 สุขภาวะทางกาย
     1) โภชนาการ
     2) สมรรถนะทางกาย
     3) ความปลอดภัย
     4) การช่วยเหลือและการดูแลตนเอง

   

วัหัดี  ที่  11 กุพัธ์  2558

  08.30-11.30 .


ความรู้ที่ได้รับ
        วันนี้เริ่มกิจกรรมดารเรียนการสอนโดยที่อาจารย์พานักศึกษาทำกิจกรรมเคลื่อนไหวก่อนเข้าสู่การ
เรียน เป็นการกระตุ้นสมอง เพื่อที่จะให้มีสมาธิในการเรียน และเป็นการพัฒนาสมอง



  ต่อมาอาจารย์ทบทวนท่าการเคลื่อนไหวอยู่กับที่ โดยการเคลื่อไหวอยู่กับที่ มีทั้งหมด 3 ระดับ ดังนี้
       1.ระดับต่ำ     
       2.ระดับกลาง     
       3.ระดับสูง
    และอาจารย์พานักศึกษาทำกิจกรรมการเคลื่อนไหวโดยใช้แทมมารีนเป็นตัวกำนดจังหวะการ
เคลื่อนไหวของเด็ก
เช่น   หากเคาะแทมมารีน 1 ครั้ง ให้นักศึกษาก้าวไปข้างหน้า 1 ก้าว
               เคาะแทมมารีน  2 ครั้ง  ให้นักศึกษาก้าวไปข้างหน้า  2  ก้าว
               เคาะแทมมารีน  รัวๆๆๆ ให้นักศึกษาเคลื่อนที่ไปอย่างอิสระแบบเร็วๆตามจังหวะ



ประเมินตนเอง
      ตั้งใจเรียนและร่วมมือกับอาจารย์ในการทำกิจกรรมแต่ละครั้งเป็นอย่างดี
ประเมินเพื่อน
      เพื่อนๆตั้งใจเรียน และทำตามที่อาจารย์สั้ง
ประเมินอาจารย์
     อาจารย์ใจดี  สอนเข้าใจ  และเข้าใจเด็กเสมอ
                  

วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บัทึรั้ที่ 4

วั จัร์ ที่ 1  กุพัธ์  2559

า   08.30 - 10.30 .

เนื้อหาที่ได้เรียน
       วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมาพรีเซนงานที่ตนเองได้รับมอบหมาย  ดังนี้
1.ทฤษฏีทางด้านสังคม ของแบนดูรา และ อิริคสัน

ทฤษฏีทางสังคม ของแบนดูรา



       ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมนี้ เป็นแนวคิดของ แบนดูรา   ซึ่งมีความเชื่อว่าพฤติกรรมมนุษย์ นอกเหนือจากปฏิกิริยาสะท้อนเบื้องต้นแล้ว เกิดจากการเรียนรู้ทั้งสิ้น และการเรียนรู้พฤติกรรมใหม่เหล่านั้นสามารถเรียนรู้ได้โดยประสบการณ์ตรงหรือไม่ก็โดยการสังเกต องค์ประกอบทางชีววิทยามีบทบาทสำคัญในกระบวนการเรียนรู้โดยพฤติกรรม นั้นก็ คือองค์ประกอบในตัวบุคคลมีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้พฤติกรรม ในการอธิบายกระบวนการเกิดพฤติกรรมของมนุษย์
             แบนดูรา ได้อธิบายรูปของการมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอย่างต่อเนื่องระหว่างพฤติกรรม องค์ประกอบส่วนบุคคลและองค์ประกอบทางสิ่งแวดล้อม โดยที่องค์ประกอบทั้ง 3 นี้จะมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน.
             พฤติกรรมองค์ประกอบส่วน บุคคลและองค์ประกอบทางสิ่งแวดล้อม มีอิทธิพลซึ่งกันและกัน กล่าวคือ พฤติกรรมของมนุษย์สามารถกำหนดสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมก็สามารถกำหนด พฤติกรรม พฤติกรรมสามารถกำหนดองค์ประกอบส่วนบุคคล องค์ประกอบส่วนบุคคลก็สามารถกำหนดพฤติกรรมได้เช่นกัน ในทำนองเดียวกัน องค์ประกอบทาง สิ่งแวดล้อมและองค์ประกอบส่วนบุคคลก็มีอิทธิพลซึ่งกันและกัน
             แบนดูรา ได้กล่าวถึงตัวกำหนดพฤติกรรมว่า มี 2 ประการ คือ ตัวกำหนดพฤติกรรมที่เป็นสิ่งเร้า ซึ่งได้แก่เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสิ่งแวดล้อมการเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆในสิ่งแวดล้อมซ้ำ ๆ มนุษย์จะคาดการณ์ไว้ว่า ถ้ามีเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นจะมีเหตุการณ์อะไรตามมาและตัวกำหนดพฤติกรรมอีกประการหนึ่ง คือ  ตัวกำหนดที่เป็นผล ซึ่งได้แก่ผลของการกระทำมนุษย์จะเลือกกระทำพฤติกรรมที่ ได้รับผลทางบวก และจะหลีกการกระทำพฤติกรรมที่จะได้รับผลทางลบ
             วิธีการเรียนรู้พฤติกรรมของมนุษย์ แบนลูราได้กล่าวว่า วิธีการเรียนรู้พฤติกรรมของมนุษย์มี 2 วิธี คือ การเรียนจากผลของการกระทำ และวิธีการเรียนรู้จากการเลียนแบบ โดยที่การเรียนรู้จากผลของการกระทำเป็นการ เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ซึ่งจะทำหน้าที่ 3 ประการ คือให้ข้อมูล จูงใจ และ เสริมแรง ส่วนการเรียนรู้จากการเลียนแบบเป็นการเรียนรู้จากการสังเกตตัวแบบกระทำ พฤติกรรม ซึ่งเป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ทางอ้อม การเรียนรู้จากตัวแบบอาศัย กระบวนการเรียนรู้จากการสังเกตเป็นผลสำคัญ ซึ่งต้องอาศัยองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการ คือ กระบวนการใส่ใจกระบวนการเก็บจำ กระบวนการทางกาย และ กระบวนการจูงใจ
             นอกจากนี้ ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมแบนดูรา ยังได้กล่าวถึงการควบคุมพฤติกรรมด้วยปัญญาไว้ว่า การเรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่าง พฤติกรรมและผลของการกระทำจะอยู่ในรูปของความเชื่อและความคาดหวัง ซึ่งเป็น กระบวนการทางปัญญา ความเชื่อและความหวังนี้จะทำหน้าที่ควบคุมหรือกำกับการ กระทำของมนุษย์ในเวลาต่อมา การควบคุมพฤติกรรมด้วยปัญญาที่สำคัญที่เกี่ยวข้อง 3 ประการ คือ ความเชื่อเกี่ยวกับกฎเกณฑ์เงื่อนไข การคาดหวังเกี่ยวกับความสามารถ ของตนเองและผลที่จะเกิดขึ้นและสิ่งจูงใจ
ในการศึกษาครั้งนี้ ใช้แนวคิดของแบนดูรา เพื่อเป็นพื้นฐาน ในการกำหนดตัวแปรเกรดเฉลี่ย จากแนวคิดว่า สติปัญญาเป็นตัวควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์


ทฤษฎีของอัลเบิร์ต แบนดูรา เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวอย่างไร                                                     คือ เมื่อเด็กเห็นในสิ่งต่างๆที่ไม่เคยเห็น ไม่ว่าจะเป็นในทีวี ในบ้าน หรือว่านอกบ้าน สิ่งต่างที่เด็กเห็นนั้นล้วนมีการเคลื่อนไหว แสดงท่าทางต่างๆ แล้วเมื่อเด็กจะสังเกตุ สมองของเด็กจะมีการจดจำในสิ่งพวกนั้น แล้วนำมาทำตามหรือเรียกว่า "เลียนแบบ“ จนเกิดเป็นการเคลื่อนไหวตามสิ่งต่างๆ

ทฤษฎีของอิริคสัน

            รูปแบบพัฒนาการทางจิตสังคมของแอริคสันมี 8 ขั้น ดังต่อไปนี้ 
ขั้นที่ 1 ความรู้สึกไว้เนื้อเชื่อใจ กับ ความไม่ไว้วางใจ (Trust vs. Mistrust)             พัฒนาการขั้นแรกจะเกิดขึ้นในช่วงตั้งแต่แรกเกิดจนถึงขวบปีแรก ในช่วงนี้ทารกจะมีความสุขความพึงพอใจบริเวณปาก และกิจกรรมเกี่ยวกับการกลืนกิน ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงปีแรกของชีวิต ในขั้นนี้หากมารดาให้ความรักและการดูแลแก่ทารกอย่างสม่ำเสมอ ตอบสนองต่อความต้องการขั้นพื้นฐานทางกายและทางจิตใจอย่างต่อเนื่อง จะทำให้ทารกพัฒนาความรู้สึกไว้เนื้อเชื่อใจขั้นพื้นฐาน ต่อบุคคลและสิ่งแวดล้อม
ขั้นที่ 2 ความเป็นตัวของตัวเอง กับ ความละอายและสงสัย (Autonomy vs. Shame and Doubt)             ในพัฒนาการขั้นที่ 2 เกิดขึ้นระหว่างขวบปีที่ 2 – 3 ของชีวิต พัฒนาการในขั้นนี้เด็กจะมีพัฒนาการทางร่างกาย โดยเฉพาะกล้ามเนื้อมากขึ้น และเริ่มที่จะเรียนรู้การควบคุมส่วนต่างๆของร่างกาย เคลื่อนไหวร่างกายอย่างเป็นอิสระมากขึ้น สามารถที่จะเรียนรู้อย่างรวดเร็ว และเริ่มสำรวจสิ่งแวดล้อมรอบข้าง เด็กในวัยนี้จะเริ่มฝึกหัดการขับถ่าย การควบคุมกล้ามเนื้อหูรูด 
ขั้นที่ 3 ความคิดริเริ่มกับความรู้สึกผิด (Initiative vs. Guilt)             พัฒนาการในขั้นนี้อยู่ในช่วงอายุ 3 – 5 ปี เด็กวัยนี้ร่างกายมีความสามารถและช่วยตัวเองได้มากขึ้นกว่าเดิม แต่ก็ยังอยู่ในวงจำกัด การพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์สำหรับเด็กในช่วงวัยนี้ทำได้โดยให้เด็กได้ร่วมทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ท้าทายความสามารถของเขา รวมทั้งสิ่งแวดล้อมก็มีส่วนผลักดัน และเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กได้ 
ในที่นี้
ขั้นที่ 4 ความขยันหมั่นเพียรกับความรู้สึกต่ำต้อย (Industry vs. Inferiority) 
             ขั้นนี้อยู่ในช่วงอายุ 6 – 12 ปี ช่วงวัยเด็กตอนปลายเป็นระยะที่เด็กมีความเจริญเติบโตและมีความอยากรู้อยากเห็นในสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ มากขึ้น
ขั้นที่ 5 ความเป็นอัตลักษณ์กับความสับสนในบทบาท (Identity vs. Role Confusion) 
            ขั้นนี้อยู่ในช่วงอายุ 13 – 20 ปี การแสวงหาอัตลักษณ์ของบุคคล และการเสริมสร้างความรับผิดชอบถือว่าเป็นเอกลักษณ์สำคัญของวัยนี้ ซึ่งความรับผิดชอบดังกล่าวมีรากฐานมาจากการอบรมของพ่อแม่ และความรู้สึกไว้วางใจและความมั่นใจในตนเอง 
ขั้นที่ 6 ความใกล้ชิดสนิทสนมกับความรู้สึกโดดเดี่ยวอ้างว้าง (Intimacy vs. Isolation) 
             บุคคลในขั้นนี้อยู่ช่วงอายุประมาณ 21 – 35 ปี เป็นวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ที่สามารถหาอัตลักษณ์ของตนเองได้จากช่วงก่อนแล้ว บุคคลในช่วงอายุนี้จะรู้จักตนเอง รู้ว่าตนเองมีความเชื่ออย่างไร ต้องการอะไรในชีวิต
ขั้นที่ 7 การสืบทอดกับการคำนึงถึงแต่ตนเอง (Generativity vs. Self absorption/ Stagnation) 
            ขั้นนี้อยู่ในช่วงอายุ 36 – 59 ปี เริ่มเข้าสู่วัยกลางคน เป็นระยะที่บุคคลมีครอบครัว มีบุตร และเลี้ยงดูบุตรด้วยความเอาใจใส่
ขั้นที่ 8 ความมั่นคงสมบูรณ์ในชีวิตกับความสิ้นหวัง (Integrity vs. Despair) 
             ขั้นนี้อยู่ในช่วงอายุ 60 – 80 ปี นั่นคือ เข้าสู่วัยชรา พัฒนาการขั้นสุดท้ายนี้มีพื้นฐานจากการปรับตัวในช่วงต้นของชีวิต บุคคลในช่วงวัยนี้มักแสวงหาความมั่นคงภายในจิตใจ ซึ่งเกิดเมื่อบุคคลสามารถผ่านพัฒนาการในขั้นต่างๆ มาได้อย่างดี เป็นวัยของการยอมรับความเป็นจริง
ทฤษฎีของอิริสัน เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวอย่างไร
       ตามทฤษฎีอาจกล่าวได้ว่าเด็กมักมีความเป็นตัวของตัวเองอย่างอิสระ ต้องการที่จะเรียนรู้และทำอะไรด้วยตนเอง และในวัยนี้มักมีการเคลื่อนไหวจากการเล่น ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญในการเรียนรู้ของเด็กวัยนี้      

2.ทฤษฏีด้านร่างกาย ของ  ฟรอยด์ , กีเซล 

พัฒนาการทางบุคลิกภาพของฟรอยด์



ฟรอยด์ แบ่งการพัฒนาบุคลิกภาพออกเป็น 5 ขั้น ได้แก่

1. ขั้นปาก (Oral Stage) เริ่มตั้งแต่แรกเกิดถึง 1 ขวบ ในวัยนี้ Erogenous Zone จะอยู่บริเวณปาก การได้รับการกระตุ้น หรือเร้าที่ปากจะทำให้เด็กเกิดความพึงพอใจ ทำให้เด็กตอบสนองความพึงพอใจของตนเองโดยการดูด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การดูดนมแม่
2. ขั้นทวาร (Anal Stage) เด็กจะมีอายุตั้งแต่ 1-3 ขวบ ในขั้นนี้เด็กจะมีความพึงพอใจอยู่ที่ทวาร หรือ การขับถ่าย หากพ่อแม่บังคับเด็กมากเกินไป โตมาเด็กก้จะกลายเป็นคนที่ตระหนี่ถี่เหนียว
3. ขั้นอวัยวะเพศตอนต้น (Phallic Stage) เริ่มตั้งแต่ 3 – 5 ขวบเด็กเกิด ความรู้สึกพึงพอใจกับการจับต้องอวัยวะเพศ เพราะมีความพึงพอใจทางเพศอยู่ที่ตนเองในระยะแรก
4. ขั้นแฝง (Latency Stage) เริ่มตั้งแต่ อายุ 6 – 11 ปี เด็กจะเริ่มมีชีวิตสังคมภายนอกบ้านมากขึ้นที่จะเรียนรู้ และปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนๆ ในโรงเรียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยดังกล่าว เด็กหากเด็กมีพัฒนาการในวัยต้นๆ อย่างเหมาะสมในขั้นนี้เด็กจะมีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนกลุ่มเดียวกัน
5. ขั้นอวัยวะเพศตอนปลาย (Genital Stage) เริ่มจาก 12 ขวบเป็นต้นไป ในระยะนี้เด็กจะเข้าสู่วัยรุ่น ไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ และวัยชรา

         ฟรอยด์ เชื่อว่าโครงสร้างของบุคลิกภาพจะประกอบด้วย อิด (Id) อีโก้ (Ego) และซูเปอร์อีโก้ (Superego) โดยจะอธิบายเป็นข้อๆ ดังนี้
1. อิด ( Id ) จะเป็นต้นกำเนิดของบุคลิกภาพ และเป็นส่วนที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด Id ประกอบด้วยแรงขับทางสัญชาตญาณ ที่กระตุ้นให้มนุษย์ตอบสนองความต้องการ ความสุข ความพอใจ
2. อีโก้ ( Ego ) จะเป็นส่วนของบุคลิกภาพที่ทำหน้าที่ประสาน อิด และ ซูเปอร์อีโก้ ให้แสดงบุคลิกภาพออกมาเพื่อให้เหมาะสมกับความเป็นจริง 
3. ซูเปอร์อีโก้ (Superego)นั้นเป็นส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับศีลธรรมจรรยา บรรทัดฐานของสังคม ค่านิยม และขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ ซึ่งทำหน้าที่ผลักดันให้บุคคลประเมินพฤติกรรมต่างๆ ทีเกี่ยวข้องกับมโนธรรม จริยธรรมที่พัฒนามาจากการอบรมเลี้ยงดู 

อาร์โนลด์  กีเซลล์
          กีเซลล์ (Gesell )กล่าวถึงทฤษฎีพัฒนาการทางร่างกายว่าการเจริญเติบโตของเด็กจะแสดงออก 
 เป็นพฤติกรรมด้านต่าง ๆ สำ หรับพัฒนาการทางร่างกายนั้นหมายถึง การที่เด็กแสดงความสามารถในการ จัดกระทำ กับวัสดุ กีเซลล์ได้แบ่งพัฒนาการเด็กออกเป็น 4 ด้าน 
ดังนี้ 
          1. พฤติกรรมด้านการเคลื่อนไหว (gross motor development)
          เป็นความสามารถของร่างกายที่ครอบคลุมถึงการบังคับอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายและความ สัมพันธ์ ทางด้านการเคลื่อนไหวทั้งหมด
          2. พฤติกรรมด้านการปรับตัว(fine motor or adaptive development)
           เป็นความสามารถในการประสานงานระหว่างระบบการเคลื่อนไหวกับระบบความรู้สึก เช่น การ
ประสานงานระหว่างตากับมือ ซึ่งดูได้จากความสามารถในการใช้มือของเด็ก
          3. พฤติกรรมทางด้านภาษา(language development)
          ประกอบด้วยวิธีสื่อสารทุกชนิด เช่น การแสดงออกทาง หน้าตา ท่าทาง การเคลื่อนไหวท่า ทางของร่างกาย ความสามารถในการเปล่งเสียง และภาษาพูดการเข้าใจในการสื่อสารกับผู้อื่น
          4. พฤติกรรมทางด้านนิสัยส่วนตัวและสังคม (personal social development)
          เป็นความสามารถในการปรับตัวของเด็ก ระหว่างบุคคลกับบุคคลและบุคคลกับกลุ่มภายใต้ภาวะ
แวดล้อมและสภาพความเป็นจริงนับเป็นการปรับตัวที่ต้องอาศัยการเจริญเติบโตของสมองและระบบการ เคลื่อนไหวประกอบกันในส่วนที่เกี่ยวกับความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็ก 


3. ทฤษฏีด้านสติปัญญา ของ เพียเจต์ , บรูเนอร์



ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
 มีสาระสรุปได้ดังนี้  พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น ดังนี้
1.   ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage)  เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง ปี พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่
2.   ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage)  เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก ขั้น คือ
ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์2เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผล เกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่
 ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของ
3.   ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage)  เริ่มจากอายุ 7-11 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้
    4.   ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage)   เริ่มจากอายุ 11-15 ปี ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง เด็กจะสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่ 


ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรุนเนอร์ 
ทฤษฎีการเรียนรู้ 

1) การจัดโครงสร้างของความรู้ให้มีความสัมพันธ์ และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก 
2) การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของผู้เรียน และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนจะช่วยให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพ 
3) การคิดแบบหยั่งรู้ (intuition) เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างอิสระที่สามารถช่วยพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้ 
4) แรงจูงใจภายในเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้ 
5) ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์แบ่งได้เป็น 3 ขั้นใหญ่ ๆ คือ
            ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) คือ ขั้นของการเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่าง ๆ การลงมือกระทำช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ดี การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ
            ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage) เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้
            ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) เป็นขั้นการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้
6) การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่คนเราสามารถสร้างความคิดรวบยอด หรือสามารถจัดประเภทของสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม 
7) การเรียนรู้ที่ได้ผลดีที่สุด คือ การให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (discovery learning) 

4.ทฤษฏีด้านความคิดสร้างสรรค์ ของกิลฟอร์ด , ทอร์แรนซ์ , Divito



ทฤษฎีและแนวคิดของกิลฟอร์ด
รูปแบบโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด
ความสามารถทางสมองของมนุษย์ประกอบด้วย สามมิติ
            มิติที่ 1  ด้านปฏิบัติการ
            มิติที่ 2  ด้านผลผลิต
            มิติที่ 3  ด้านเนื้อหา
มิติที่ 1  ด้านเนื้อหา แบ่งเป็น 5 ชนิด
            1.เนื้อหาที่เป็นรูปภาพ
            2.เนื้อหาที่เป็นเสียง
            3.เนื้อหาที่เป็นสัญลักษณ์
            4.เนื้อหาที่เป็นภาษา
            5.เนื้อหาที่เป็นพฤติกรรม
มิติที่ 2 ด้านปฏิบัติการ กระบวนการคิดต่างๆ
ที่สร้างขึ้นมาซึ่งประกอบด้วยความสามารถ 5 ชนิด
1.การรับรู้และการเข้าใจ
2.การจำ
3.การคิดแบบอเนกมัย เป็นความสามารถในการตอบสนองต่อสิ่งเร้าและแสดงออกในหลายๆแบบหลายๆวิธี
4.การคิดแบบเอกมัย เป็นความสามารถในการสรุปข้อมูลที่ดีและ ถูกต้องที่สุดจากข้อมูลหลากหลายที่มีอยู่
 5.การประเมินค่า เป็นความสามารถทางปัญญาในการตัดสินสิ่งที่รับรู้    จำได้ หรือกระบวนการคิดว่ามีคุณค่า ความถูกต้อง ความเหมาะสม    หรือมีความเพียงพอหรือไม่ อย่างไร
มิติที่ 3 ด้านผลผลิต ความสามารถที่ผสมผสานมิติด้านเนื้อหาและด้านปฏิบัติเข้าด้วยกันเป็นผลผลิต   เมื่อสมองรับรู้วัตถุ/ข้อมูลบุคคลจะเกิดการคิดในรูปแบบต่าง ๆ กัน ซึ่งสามารถให้ผล แตกต่างกัน    6 ชนิด
1. หน่วย เป็นสิ่งที่มีคุณสมบัติเฉพาะตัวและมีความแตกต่างจากสิ่งอื่น
2.จำพวก เป็นกลุ่มสิ่งต่างๆ ซึ่งมีคุณสมบัติบางประการร่วมกัน
3.ความสัมพันธ์ เป็นการเชื่อมโยง 2 สิ่งเข้าด้วยกัน เช่น การเชื่อมโยงคำ     เชื่อมโยงความหมาย
4.ระบบ เป็นแบบแผนหรือรูปแบบจากการเชื่อมโยงสิ่งหลายๆสิ่งเข้าด้วยกัน
5.การปรับเปลี่ยน เป็นการเปลี่ยนแปลง  การหมุนกลับ การขยายความ   ข้อมูลจากสภาพหนึ่งไปยังอีกสภาพหนึ่ง
6. การประยุกต์ เป็นผลผลิตที่คาดหวังหรือการทำนายจากข้อมูลทีกำหนด
ทฤษฎีความคิดสร้างสรรคของทอแรนซ์ (Torrance)

  
 ทอแรนซ์ กล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นกระบวนการของความรู้สึกไวต่อปัญหาหรือสิ่งที่บกพร่องขาดหายไป แล้วจึงรวบรวมความคิดหรือตั้งเป็นสมมติฐานทำการทสอบสมมติฐาน และเผยแพร่สิ่งที่ได้จากการทดสอบสมมติฐานนั้น ซึ่งแบ่งเป็นขั้น ๆ ได้ดังนี้

   ขั้นที่ 1 การพบความจริง (Fact – Finding) ในขั้นนี้เริ่มตั้งแต่ความรู้สึกกังวล มีความสับสน วุ่นวาย เกิดขึ้นในจิตใจ แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นอะไร จากจุดนี้ก็พยายามตั้งสติ และหาข้อมูลพิจารณาดูว่าความยุ่งยาก วุ่นวาย สับสน หรือสิ่งที่ทำให้กังวลใจนั้นคืออะไร
   ขั้นที่ 2 การค้นพบปัญหา ( Problem – Finding) ขั้นนี้เกิดต่อจากขั้นที่ 1 เมื่อได้พิจารณาโดยรอบคอบแล้ว จึงเข้าใจและสรุปว่า ความสับสนวุ่นวายนั้นก็คือ การเกิดปัญหานั่นเอง
   ขั้นที่ 3 การตั้งสมมติฐาน ( Idea – Finding ) ขั้นนี้ต่อจากขั้นที่ 2 เมื่อรู้ว่ามีปัญหาเกิดขึ้นก็จะพยายามคิดและตั้งสมมติฐาน และรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ในการทดสอบสมมติฐานในขั้นที่ 3
   ขั้นที่ 4 การค้นพบปัญหา ( Solution – Finding) ในขั้นนี้จะพบคำตอบจากการทดสอบสมมติฐานในขั้นที่ 3
   ขั้นที่ 5 ยอมรับผลจากการค้นพบ ( Acceptance – finding) ขั้นนี้เป็การยอมรับคำตอบที่ได้จากการพิสูจน์เรียบร้อยแล้ว่าน่าจะแก้ปัญหาให้สำเร็จได้อย่างไร แต่ต่อจากจุดนี้การแก้ปัญหาหรือการค้นพบยังไม่จนตรงนี้ แต่ผลที่ได้จากการค้นพบจะนำไปสู่หนทางที่จะทำให้เกิดแนวคิดหรือสิ่งใหม่ต่อไปที่เรียกว่า New Challent

วัหัดี  ที่  4 กุพัธ์  2558

  08.30-11.30 .

เนื้อหาที่ได้เรียน
       วันนี้เริ่มการเรียนการสอนโดยอาจารย์เอาคลิป VDO  "เสียตัว  เสียใจ "


       ต่อมาอาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละคนออกมาทำท่าเคลื่อไหวอยู่กับที่คนล่ะ 1 ท่า



       ต่อมาอาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน ช่วนกันคิดท่าเคลื่อนไหวอยู่กับที่ กลุ่มล่ะ 10 ท่า พร้อมออกมาเต้นหน้าห้อง






          กิจกรรมสุดท้าย อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละคนฝึกการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวหน้าชั้นเรียน โดยให้ทำท่าเคลื่อนไหว คนละ 3 พร้อมฝึกให้สบตา ส่งยิ้มให้เพื่อน  





ประเมินตนเอง
     ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือ  อาจจะไม่ค่อยกล้าแสดงออกและทำไม่ค่อยเต็มที่เท่าไหร่  
ประเมินเพื่อน
     เพื่อนๆ ให้ความร่วมมือ จะมีบางคนที่ยังเขินๆอาย  และมีคุยกันบ้างเล็กน้อย
ประเมินอาจารย์ 
    อาจารย์ใจดี  พูดด้วยน้ำเสียงที่น่าฟัง  เข้าใจเด็ก