วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บัทึรั้ที่ 5

วั จัร์ ที่ 8  กุพัธ์  2559

า   08.30 - 10.30 .

เนื้อหาที่ได้เรียน

        กิจกรรมการเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์บรรยายให้หัวข้อ  "สมรรถนะทั้ง 7 ด้านของเด็กปฐมวัย"  โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้
        สมรรถนะ (Competency) F คือพฤติกรรมบ่งชี้ของแต่ละวัย (ช่วงอายุ) ว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง (Can do)
ตัวอย่าง : การเคลื่อนไหวและการทรงตัว
  3 ปี – วิ่งและหยุดเองได้
  4 ปี – เดินต่อเท้าไปข้างหน้าโดยไม่กางแขน
  5 ปี – เดินต่อเท้าไปข้างหลังโดยไม่กางแขน
ตัวอย่าง : การมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนเด็ก
  3 ปี – พูดคุยและเล่นกับเพื่อนเด็กด้วยกัน
  4 ปี – ช่วยเหลือเพื่อน
  5 ปี – ชวนเพื่อนมาเล่นด้วยกันโดยกำหนดสถานที่
ตัวอย่าง : ความทรงจำ
  3 ปี – ท่องคำคล้องจองสั้น ๆ ได้
  4 ปี – บอกชื่อวันในหนึ่งสัปดาห์
  5 ปี – บอกหมายเลขโทรศัพท์ที่บ้านได้
ตัวอย่าง : การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
  3 ปี – แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้ โดยการลองผิดลองถูก เช่น สวมรองเท้า ติดกระดุม
  4 ปี – แก้ปัญหาโดยใช้อุปกรณ์ช่วย เช่น ใช้ไม้เขี่ยสิ่งของที่เอื้อมไม่ถึง
  5 ปี – แก้ปัญหาได้หลายวิธี และรู้จักเลือกวิธีที่เหมาะสม

ความสำคัญ
-  ทำให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็กและครูปฐมวัยมีความรู้ ความเข้าใจ เด็กปฐมวัยมากขึ้น
-  สร้างความตระหนักในความสำคัญของการพัฒนาเด็กในช่วงปฐมวัยมากขึ้น
-  ชี้แนะแนวทางในการพัฒนาเด็กเป็นเสมือน “คู่มือช่วยแนะแนว”
-  ส่งเสริมวิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยให้ได้คุณภาพดียิ่งขึ้น
-  ทำให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยมีเป้าหมายร่วมกันและประสานประโยชน์เพื่อเด็กได้ดียิ่งขึ้น


ข้อตกลงเบื้องต้น
     เด็กปฐมวัยทุกคนมีความแตกต่างระหว่างบุคคล  พ่อแม่  ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก  ครูอาจารย์ 
ควรศึกษาพฤติกรรมบ่งชี้(สมรรถนะ)  ด้วยความเข้าใจ  และไม่ควรถือว่าพฤติกรรมบ่งชี้เหล่านี้เป็นแบบ
ประเมินเสมือนลักษณะสอบตกสอบได้เด็ดขาด  ถ้าพบว่าเด็กบางคนมีพัฒนาการล่าช้าจากช่วงอายุก็
ควรปรึกษาแพทย์ต่อไป
ข้อคิดจากงานวิจัยสมรรถนะเด็กไทย (สกศ.)
สมรรถนะ (Competency)   7 ด้าน 419 ตัวบ่งชี้
       คือ พฤติกรรมบ่งชี้ของเด็กแต่ละวัย (ช่วงอายุ) ว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง (Can do)
 * ข้อมูลนำไปใช้ในการสร้างเสริมการพัฒนาเด็กปฐมวัย ไม่ได้ให้ใช้เพื่อการตัดสินได้หรือตก
สมรรถนะ 7 ด้าน ประกอบด้วย
      (1) การเคลื่อนไหวและสุขภาพทางกาย 
      (2) พัฒนาการด้านสังคม
      (3) พัฒนาการด้านอารมณ์ 
      (4) พัฒนาการด้านการคิดและสติปัญญา
      (5) พัฒนาการด้านภาษา 
      (6) พัฒนาการด้านจริยธรรม
      (7) พัฒนาการด้านการสร้างสรรค์
ด้านที่ 1  การเคลื่อนไหวและสุขภาพทางกาย
      1.1 การเคลื่อนไหว
             1) การเคลื่อนไหวและการทรงตัวโดยใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่
     2) การเคลื่อนไหวโดยใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก
     3) ประสาทสัมผัสการเคลื่อนไหว
1.2 สุขภาวะทางกาย
     1) โภชนาการ
     2) สมรรถนะทางกาย
     3) ความปลอดภัย
     4) การช่วยเหลือและการดูแลตนเอง

   

วัหัดี  ที่  11 กุพัธ์  2558

  08.30-11.30 .


ความรู้ที่ได้รับ
        วันนี้เริ่มกิจกรรมดารเรียนการสอนโดยที่อาจารย์พานักศึกษาทำกิจกรรมเคลื่อนไหวก่อนเข้าสู่การ
เรียน เป็นการกระตุ้นสมอง เพื่อที่จะให้มีสมาธิในการเรียน และเป็นการพัฒนาสมอง



  ต่อมาอาจารย์ทบทวนท่าการเคลื่อนไหวอยู่กับที่ โดยการเคลื่อไหวอยู่กับที่ มีทั้งหมด 3 ระดับ ดังนี้
       1.ระดับต่ำ     
       2.ระดับกลาง     
       3.ระดับสูง
    และอาจารย์พานักศึกษาทำกิจกรรมการเคลื่อนไหวโดยใช้แทมมารีนเป็นตัวกำนดจังหวะการ
เคลื่อนไหวของเด็ก
เช่น   หากเคาะแทมมารีน 1 ครั้ง ให้นักศึกษาก้าวไปข้างหน้า 1 ก้าว
               เคาะแทมมารีน  2 ครั้ง  ให้นักศึกษาก้าวไปข้างหน้า  2  ก้าว
               เคาะแทมมารีน  รัวๆๆๆ ให้นักศึกษาเคลื่อนที่ไปอย่างอิสระแบบเร็วๆตามจังหวะ



ประเมินตนเอง
      ตั้งใจเรียนและร่วมมือกับอาจารย์ในการทำกิจกรรมแต่ละครั้งเป็นอย่างดี
ประเมินเพื่อน
      เพื่อนๆตั้งใจเรียน และทำตามที่อาจารย์สั้ง
ประเมินอาจารย์
     อาจารย์ใจดี  สอนเข้าใจ  และเข้าใจเด็กเสมอ
                  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น